ฝ่ายศูนย์บริการและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา
- ฝ่ายศูนย์บริการและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 หน่วย คือ
5.1 หน่วยจัดระบบสื่อการศึกษา
ทำหน้าที่รวบรวมและจัดการสื่อการสอนที่บันทึกจากห้องเรียนทุกระบบของมหาวิทยาลัยตามที่กำหนด โดยนำมาตรวจสอบคุณภาพของภาพและเสียงนำเข้าข้อมูลไฟล์วีดีโอในโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อทำให้ไฟล์ในรูปแบบต่างๆ มีขนาดเล็กลงและให้บันทึกในรูปแบบไฟล์ MPEG1 ตัดต่อไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทำการเข้ารหัสภาพและสร้างรูปแบบในการอ่านและเล่นไฟล์ (Render file) ให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ DivX (MP4) หรือรูปแบบอื่นๆ ตามที่สำนักเทคโนโลยีการศึกษามีให้บริการ ตรวจสอบสื่อการสอนที่ผ่านกระบวนการจัดทำเสร็จสมบูรณ์ จัดทำต้นฉบับตามที่จะนำไปให้บริการ เช่น DVD, Hard Disk หรือนำเข้าข้อมูลภาพและเสียงในระบบคอมพิวเตอร์ทั้งแบบ Online และOffline ตรวจสอบ ทวนสอบ สื่อที่ใช้ในการให้บริการด้วยวิธีการสุ่มตามระยะเวลา จัดทำทะเบียนควบคุมการใช้งานจัดพิมพ์ Bar Code ลงบนสื่อเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นสุ่มเช็คคุณภาพของสื่อการสอนต้นฉบับตามระยะเวลาที่กำหนดทำการสำรองเนื้อหาของสื่อตามระยะเวลาที่กำหนด แก้ไขข้อมูลภาพและเสียงในกรณีที่พบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือเกิดข้อผิดพลาดในระบบติดต่อประสานงานเพื่อดำเนินการจัดส่งสื่อ ในรูปแบบต่างๆ ไปให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกไว้ใช้บริการต่อไป
5.2 หน่วยบริการสื่อการศึกษา
ทำหน้าที่บริการสื่อการศึกษาทุกรูปแบบตามที่สำนักเทคโนโลยีการศึกษากำหนดโดยบันทึกประวัติสมาชิก ทวนสอบข้อมูลของสมาชิกในระบบ e-Service อธิบายรายละเอียดของบริการทั้งแบบบริการต่อหน้าและแบบบริการ Online ประชาสัมพันธ์บริการของฝ่ายศูนย์บริการและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาในทุกรูปแบบตามที่กำหนด ทำทะเบียนควบคุมการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ ที่จะนำมาให้บริการ ตรวจเช็คคุณภาพของสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่จะให้บริการเพื่อให้มีความพร้อมในการนำมาให้บริการ ให้บริการยืมและรับคืนสื่อการศึกษาในรูปแบบ DVD ตามระยะเวลาที่กำหนด ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษาในรูปแบบ DVD, Flash Drive หรือการ Download จากระบบ Online สุ่มเช็คคุณภาพของสื่อการศึกษาต้นฉบับที่ให้บริการตามระยะเวลาที่กำหนด บันทึกข้อมูลการให้บริการในฐานข้อมูลและจัดทำรายงานการให้บริการตามระยะเวลาที่กำหนด บันทึกและรายงานข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการทันทีที่มีการร้องเรียน นำส่งเงินรายได้และจัดทำรายงานการส่งเงินรายได้เป็นรายวัน จัดทำบัญชีรายรับจากการให้บริการและรายงานยอดรายรับตามระยะเวลาที่กำหนด
5.3 หน่วยคลังความรู้และฝึกอบรม
ทำหน้าที่คัดเลือก พัฒนา รวบรวม นำเข้าทรัพยากรทางการศึกษาแล้วดัดแปลงสภาพให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยทรัพยากรทั้งหมดต้องไม่มีประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาและจัดทำหมวดหมู่ความรู้ ใส่คำอธิบายและให้คำสำคัญเพื่อการสืบค้นและกำหนดสัญญาอนุญาต (Creative Commons) เพื่อการเผยแพร่และให้บริการข้อมูลสารสนเทศในฐานข้อมูลระบบคลังความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย คลังภาพ คลังเสียง คลังกระบวนวิชา และคลังสื่อฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานให้มีความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดี ด้วยเหตุผลที่ว่าแนวโน้มการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในระบบการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์เพิ่มสูงมากขึ้น และมหาวิทยาลัยได้เร่งให้สำนักเทคโนโลยีการศึกษาดำเนินการปรับปรุงห้องเรียนขนาดใหญ่รวมถึงห้องเรียนขนาดเล็กให้ทันสมัยรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยจะปรับปรุงห้องเรียนขนาดใหญ่ทั้งที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงหัวหมาก และวิทยาเขตบางนา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาโดยนำกระบวนวิชาต่าง ๆ ที่บรรยายในชั้นเรียนให้บริการนักศึกษาอีกทางหนึ่ง ซึ่งเดิมสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ได้นำกระบวนวิชาจากห้องเรียนขนาดใหญ่มาให้บริการแต่ยังไม่ครบทุกกระบวนวิชา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มีสื่อหลากหลายรูปแบบนอกเหนือจากสื่อจากห้องเรียน เช่น สื่อภาพวีดิทัศน์ (การผลิตรายการโทรทัศน์ รายการสารคดี) สื่อภาพนิ่ง (ภาพมหาวิทยาลัย/กิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่อดีต-ภาพปัจจุบัน) สื่อเสียง (การผลิตรายการวิทยุการศึกษา) ซึ่งสื่อต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญและมีคุณค่ามีจำนวนมากกระจัดกระจายตามฝ่ายต่าง ๆ หากมีหน่วยงานรองรับการบริหารจัดการสื่ออย่างเป็นระบบ หรือ นำสื่อมาจัดทำระบบคลังความรู้ เช่น คลังภาพวีดีโอ คลังภาพนิ่ง คลังเสียง เป็นต้น สำนักเทคโนโลยีการศึกษา ก็จะมีคลังความรู้สำหรับให้บริการที่มีคุณภาพรวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น ฝึกอบรมให้ความรู้กับบุคลากร บุคคลภายนอก (คิดค่าใช้จ่าย) เป็นต้น